ตอบจดหมายทันตกรรมจัดฟัน

ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดฟัน

เรียน คุณหมอชวาล

ดิฉันอายุ 30 ปีค่ะ ตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดฟันเป็น เวลา 3 ปีแล้วค่ะ ยังไม่ได้ถอดเครื่องมือออก  ก่อนจะทำการจัดฟันนั้นดิฉันมีปัญหาขากรรไกรด้านขวาค้าง มีเสียงดังกึก ๆ เป็นประจำ ก็ทำการรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไปซึ่งก็รักษาตามอาการ ให้ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ซึ่งก็เป็นปัญหาเรื่อยมา ประกอบกับดิฉันฟันด้านหน้าค่อนข้างยื่น จึงตัดสินใจจัดฟันเนื่องจากปรึกษากับคุณหมอแล้วท่านบอกว่าการจัดฟันจะช่วยเรื่องการสบของฟัน จะทำให้แก้ปัญหาขากรรไกรค้างได้

ระหว่างทำการจัดฟัน พบว่าอาการขากรรไกรค้าง ติดขัด มีเสียงดังกึก ๆ ก็ลดลงเรื่อยๆ แต่จากการสังเกตคือมีฟันเขี้ยวด้านล่างขวาซี่หนึ่งบิดเข้าไปด้านในเนื่องจากการดึงให้ฟันล่างหุบเข้า ซึ่งดิฉันก็ไม่ได้ทักท้วงเนื่องจากคิดว่าเป็นแผนการรักษาของหมอ แต่สุดท้ายคุณหมอบอกว่าฟันใกล้จะเรียงหมดแล้ว เตรียมถอดเครื่องมือ มีตรงไหนที่คนไข้อยากให้ปรับแก้ ดิฉันจึงบอกคุณหมอว่า ฟันเขี้ยวด้านล่างมันบิด เมื่อคุณหมอสังเกตดี ๆ จึงเห็นว่าบิดอยู่จริง คุณหมอจึงทำการดึงฟันตัดด้านหน้า(ล่าง) ให้ออกมาเพื่อให้มีพื้นที่ให้ฟันที่บิดอยู่กลับออกมา และเมื่อฟันซี่ที่บิดอยู่เริ่มกลับมาเรียงเป็นระเบียบนั้น ดิฉันก็มีอาการขากรรไกรมีเสียงดังกึก ๆ เวลาออกแรงเคี้ยวอาหารจะค่อนข้างเมื่อย แต่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใด จึงทำการค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตก็พบเว็บไซต์ของคุณหมอ อ่านดูก็ได้ข้อมูลค่อนข้างเยอะ เลยคิดว่าอาจจะเป็นเพราะการถอนฟันอย่างไม่สมมาตร เหมือนกับที่คุณหมอได้เขียนบทความไว้หรือเปล่า

ปัจจุบันฟันด้านล่างขวา มี 7 ซี ฟันด้านล่างซ้ายมี 6 ซี่ ส่วนด้านบนก็มีจำนวนเท่ากันกับด้านล่าง (ฟันที่ถอนก่อนจัดฟันจำนวน 3 ซี่ ได้แก่ ด้านบน -ฟันกรามน้อยซี่ที่ติดกับเขี้ยว ทั้งซ้ายและขวา ส่วนด้านล่าง ได้แก่ ฟันกรามน้อยซี่ติดเขี้ยวด้านซ้าย) เป็นไปได้ไหมคะที่ฟันไม่มีความสมมาตรกันระหว่างซ้ายและขวาจึงทำให้เกิดปัญหา

อยากเรียนถามคุณหมอว่า

  1. การรักษาขากรรไกรสามารถกระทำควบคู่กับการจัดฟันได้ไหมคะ
  2. ไม่ทราบว่าทันตแพทย์จัดฟันทุกท่านสามารถรักษาอาการขากรรไกรได้หรือไม่
  3. ควรให้ทันตแพทย์ประจำตัวคนไข้เป็นผู้ทำการแก้ไขหรือเปล่าคะ
  4. อีก 2 เดือนข้างหน้าคุณหมอเขานัดไปเปลี่ยนยางจัดฟัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะนานเกินไปจนทำให้ปัญหาขากรรไกรนี้แก้ไขได้ยากขึ้นหรือเปล่าค่ะ ดิฉันควรรีบไปพบคุณหมอประจำตัวโดยด่วนหรือไม่คะ
  5. หากจัดฟันเสร็จแล้ว ถอดเครื่องมือแล้ว พบว่าอาการขากรรไกรผิดปกตินั้นยังไม่หายไปควรทำอย่างไรคะ

และข้อมูลที่ดิฉันแจ้งคุณหมออาจจะไม่เพียงพอในการตอบปัญหาให้ดิฉันได้ทั้งหมด เนื่องจากคุณหมอยังไม่ได้พบคนไข้ ยังไม่เห็นฟัน ฟิล์ม x-ray แต่ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ และขอบพระคุณกับสาระดี ๆ ทางอินเตอร์เน็ตด้วยนะคะ

ด้วยความเคารพ

ป.

2014.07.18

เรียน  คุณป.

ผมขอความกรุณา  อ่าน  web site ของผมโดยละเอียดอีกครั้ง ผมเขียนไว้ละเอียดที่เดียว  ทั้งการถอนแบบ

  • สมมาตร Symmetrical extraction ถอนซ้ายและขวาใน ระดับที่เท่ากัน
  • การถอนฟันในขากรรไกรตรงข้าม ถอนฟันบนและถอนฟันล่างด้วยหรือการถอนแบบสมดุล Balancing extraction (ใน segment เดียวกัน)
  • ไม่ถอนฟัน 6 ซี่หน้าบน และไม่ถอนฟัน 6 ซี่หน้าล่าง
  • ไม่ถอนฟัน ในกรณีที่คนไข้มีโครงสร้างแบบ Low angle Face ใบหน้าสั้นเป็นรูป สี่เหลี่ยม

แผนกทันตกรรมจัดฟันในมหาวิทยาลัยของรัฐต่างช่วยกันสอนวิธีจัดฟันที่มุ่งไป ที่การถอนฟันหมายเลข 4 เรียกว่า  4บน และ 4 ล่าง ฝรั่งเรียก  4 on the floor  คือไม่ว่าจะเป็นปัญหาแบบใด อายุเท่าใดก็ใช้สูตรนี้หมดครับ

คุณอายุ 30 ปีแล้วกระดูกแข็งมากๆ การเคลื่อนที่ของฟันทำได้ยากขณะที่ผมทำงานอยู่ที่ ม. Frankfurt มีรายงานพิสูจน์ และ สนับสนุนว่าฟันของมนุษย์ที่อายุมากกว่า 30 ปีเคลื่อนที่ได้ยากเพราะกระดูกแข็งมาก ยกเว้นพวกที่เป็นโรคเหงือก    ผมจึงไม่รับจัดฟันคนไข้ที่มีอายุมากกว่า 25 ครับ  (อายุมากกว่า 25 ปี หลายรายเป็น case จัดฟันที่ต้องทำร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร หรือต้องใช้ Technology  ขั้นสูงหรือใช้เวลานานขึ้น   ถ้าจะทำผมจะพิจารณาเป็นรายๆไปครับ

คุณอายุ 30 ปีไม่ใช่ว่าจัดไม่ได้นะครับ   คำตอบก็คือตราบใดที่คนไข้ยังมีลมหายใจ (คือยังมี Bone Metabolism) ก็ยังทำได้ครับ  จะคุ้มหรือไม่ต้องตอบคำถามนี้เองครับ      คุณหมอบางท่านใจถึง ท่านก็ทำให้ครับ  ความเร็วในการเคลื่อนที่ของฟันหรือ speed of tooth movement ลดลงอย่างมาก  ลักษณะการเคลื่อนที่ของฟันก็ต่างกัน ฟันมีโอกาสเอียงไปมา (Tipping)ได้มากกว่าการเคลื่อนที่แบบไปทั้งซี่ เท่าๆกันทั้งราก และตัวฟัน (Bodily movement)คุณคงเห็นแล้วว่าคุณใช้เวลาจัดฟันไปแล้วเป็นเวลา 3 ปีก็ยังไม่ได้ถอดเครื่องมือออก

ก่อนจะทำการจัดฟันนั้นคุณมีปัญหาข้อต่อขากรรไกรด้านขวาค้าง (TMD) มีเสียงดังกึก ๆ(Clicking) เป็นประจำ ก็จะต้องทำการรักษาข้อต่อขากรรไกรก่อนครับเรียกว่าออโธเปดิกส์ของข้อต่อขากรรไกร (Jaw orthopedics หรือ Dentofacial Orthopedics)     หลักการในการรักษาความผิดปกติของข้อต่อทุกข้อต้องแก้ด้วยการยืดข้อ ออโธเปดิกส์(Stretching) ครับ ที่TMD Center ของเรา  ผมใช้ The Bangkok Splint ครับ เมื่ออาการต่างๆหายดีแล้วจึงจะทำการรักษาโดยทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontics) หรือการรักษาทางเลือกวิธีอื่นที่คนไข้รับได้    เพื่อแก้ไขสาเหตุ (ความผิดปกติของการสบฟัน)   สรุป คนไข้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกร ไม่ว่าจะเป็น เสียงดังผิดปกติ  มีเสียงดังกึก ๆ เป็นประจำ อ้าปากหุบปากติดขัด  แม้จะไม่เจ็บปวด หรือมีประวัติค้างมาก่อน จะต้องทำการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรก่อนครับเรียกว่าออโธเปดิกส์ของข้อต่อขากรรไกร (Jaw orthopedics)

 

การรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรที่เริ่มต้นด้วยการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเลย  จึงไม่ใช่การรักษาที่ถูกต้องครับ

 

 

ที่ถามมาขอตอบดังนี้ครับ

  1. การรักษาขากรรไกรสามารถกระทำควบคู่กับการจัดฟันได้ไหมคะ(อ่านคำตอบข้างต้นครับ)
    ในโรงพยาบาลการรักษาข้อต่ออื่นๆที่ผิดปกติต่างๆ เช่นข้อไหล่ข้อเข่า ข้อสะโพก ก็เป็นการรักษาตามอาการด้วยวิธีทาง ออเปดิกส์ Orthopedics     โดยแพทย์เฉพาะทางครับ     แต่คนไข้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกร ที่โรงพยาบาลทั่วไปอาจใช้แพทย์ทางอายุรกรรม หรือ แพทย์ ทางโศต ศอ นาสิก หรือ ที่เรียกว่า ENT ทำการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งไม่ได้ผล  บางคนถูกส่งไปให้แพทย์ ทำ MRI หมดเงินไปหลายหมื่นบาท ก็ไม่ได้อะไรครับ

สรุปครับ  การรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ผิดปกติ ก็ต้องใช้การรักษาทางออโธเปดิกส์ของข้อต่อขากรรไกร (Jaw Orthopedics หรือ Dentofacial Orthopedics)  ไม่ใช่การรักษาทางทันตกรรม   ซึ่งทันตแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสอน เพราะไม่มีในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยของไทย

นอกจากนี้ แผนกทันตกรรมจัดฟันในมหาวิทยาลัยของรัฐต่างช่วยกันสอนวิธีจัดฟันที่มุ่งไป ที่ยิ้มสวย  แต่จะเคี้ยวได้หรือไม่ได้  ไม่คำนึงถึง  ปฏิเสธผลแทรกซ้อน หรือความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร(TMD)ที่เกิดขึ้นว่า      ”ไม่ได้มีสาเหตุมาจากทันตกรรมจัดฟัน”  ไม่ใช่ความผิดของหมอจัดฟัน  หรือ”ทันตกรรมจัดฟันไม่มีผลหรือมีความสัมพันธ์ใดๆเกี่ยวข้องกับ   TMD เลย” นอกจากนี้เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วตัวเองก็ไม่ทราบวิธีแก้ไข    ก็ส่งต่อไปแผนกอื่นที่มีแผนการรักษาทางทันตกรรมที่ไม่เข้าเป้าอีกเช่นกัน

ณ.ที่นี้ผมขอยืนยันว่า ทันตกรรมจัดฟันมีผลโดยตรงต่อความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดฟันที่ไม่ดี จะช่วยให้มีปัญหาเรื่องการสบของฟันและ TMD เร็วขึ้น

 

การรักษาประกอบด้วย

Phase 1. Orthopedic phase ด้วย The Bangkok splint ที่ออกแบบโดยใช้หลักการทาง Orthopedics  เพื่อรักษาอาการ  และ

Phase 2. Orthodontic phase หรือ ทันตกรรมจัดฟันที่ถูกวิธี เพื่อขจัดสาเหตุ  หรือการรักษาทางเลือกวิธีอื่นที่คนไข้รับได้  บางcase  อาจต้องใช้การผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย (โดยMaxillofacial Surgeon ไม่ใช่ Plastic Surgeon)  เพื่อแก้ไขสาเหตุ (ความผิดปกติของการสบฟัน)   กรุณาอ่านแผนผังสรุป ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ที่ผมเขียนไว้

Splint  อื่นๆ ที่ออกแบบโดยไม่ใช้หลักการทาง Orthopedics (เช่น Splint ฟันบน  ทั้งนิ่ม และแข็ง  และ อื่นๆที่ใช้หลักการทางทันตกรรมออกแบบและสร้าง) เพื่อรักษาอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMD) เช่นเสียงดังกึก ๆ เป็นประจำ อ้าปากไม่ขึ้น ค้าง  จะไม่มีทางได้ผลระดับคลินิกในระยะยาวที่น่าพอใจเลย

 

  1. ไม่ทราบว่าทันตแพทย์จัดฟันทุกท่านสามารถรักษาอาการขากรรไกรได้หรือไม่ ?

ไม่ครับ   ตามที่ตอบไปแล้วการรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ผิดปกติ ก็ต้องใช้การรักษาทางออโธเปดิกส์ของข้อต่อขากรรไกร (Jaw orthopedics หรือDentofacial Orthopedics)  ไม่ใช่การรักษาทางทันตกรรม   ซึ่งทันตแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสอน เพราะไม่มีในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยของไทย (ไม่มี วิสัยทัศน์ Narrow vision)
นอกจากนี้ แผนกทันตกรรมจัดฟันในมหาวิทยาลัยของรัฐต่างช่วยกันสอนวิธีจัดฟันที่มุ่งไปที่ยิ้มสวย  แต่จะเคี้ยวได้หรือไม่ได้  ไม่คำนึงถึง   ปฏิเสธผลแทรกซ้อน หรือความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่ความผิดของหมอจัดฟัน  นอกจากนี้เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วตัวเองก็ไม่ทราบวิธีแก้ไข   ก็ส่งต่อไปแผนกอื่นที่มีแผนการรักษาทางทันตกรรมที่ไม่เข้าเป้าอีกเช่นกัน

ทันตแพทย์จัดฟันทุกท่านที่จบมาจากต่างประเทศ บางมหาวิทยาลัยก็ไม่มีหลักสูตรนี้เช่นกันครับ

  1. และ 4.

ขออนุญาต ไม่ตอบครับ

  1. หากจัดฟันเสร็จแล้ว ถอดเครื่องมือแล้ว พบว่าอาการขากรรไกรผิดปกตินั้นยังไม่หายไปควรทำอย่างไรคะ

ตอบ:  ถามทันตแพทย์ผู้รักษาซิครับ

ณ.ที่นี้ผมขอยืนยันว่า ทันตกรรมจัดฟันมีผลโดยตรงต่อข้อต่อขากรรไกร

คุณสามารถที่จะติดต่อเราโดยใช้ Email คือ schwansomsiri911@gmail.com หากต้องการการรักษาตามตำราของผม โทร. มานัดได้ที่ Front Desk ของเรา 02-984-4568, 02-574-0555 หรือ 02-574-6556 หรือ 087-700-9919, 089-786-0555, 081-495-4486 ครับ เลขาของผมรอคุณอยู่ครับ

ขอแสดงความนับถือ

ชวาล  สมศิริ

DDS, Diplomate German Board of Dentofacial Orthopedics

Orthodontics, Dentofacial Orthopedics, TMD & Migraine

Comments are closed.

0 %