การรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
ด้วย The Bangkok Splint ในฟันล่าง (Jaw Orthopedic Therapy)
ท่านที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เช่น อาการอ้าปากได้น้อย, อ้าปากแล้วเบี้ยว, อ้าปากแล้วค้างหุบไม่ลง, มีอาการเจ็บในข้อต่อขากรรไกรและ กล้ามเนื้อบนศีรษะและใบหน้า มีเสียงดังผิดปกติ ( Clicking ) ขณะอ้าหรือหุบปาก มีเสียงหวีดดังผิดปกติในหูส่วน กลาง ปวดศีรษะเป็นประจำ เมื่อไปตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางแล้วไม่พบความผิดปกติ ใดๆ
อาการนี้ สามารถรักษาได้โดยทันตแพทย์จัดฟัน แต่ ท่านต้องการการรักษาพิเศษเรียกว่า ออโธเปดิกส์ Orthopedics ไม่ใช่การรักษาทางทันตกรรม Dentistry โดยใช้เครื่องมือเบาะรองฟัน (เฝือก หรือ เครื่องมือปรับตำแหน่งข้อต่อขากรรไกร เรียกว่า บางกอกสปลิ้นท์ (The Bangkok Splint) อันเป็นประดิษฐ์กรรมของทันตแพทย์ ชวาล สมศิริ เรียกว่าการรักษาระยะที่ หนึ่ง ( Phase I ) เมื่อการรักษานี้สิ้นสุดลง (ประมาณ 6 เดือน) การสบฟันของท่านอาจเปลี่ยนไปจากเดิม ท่านจะรู้สึกว่าสับสนระหว่างตำแหน่งของการสบฟันแบบเก่า และตำแหน่งใหม่ แต่ อาการสับสนดังกล่าวจะหายไปภายในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งความผิดปกติของขากรรไกรต่างๆ ด้วย เป็นการรักษาตามอาการ
หมายเหตุ ในเวลาเดียวกันขณะทำการจัดฟันก็อาจมีอาการความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เช่นนี้เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการรักษานั้นไปกระตุ้นคนไข้ให้มีการสบฟันกระแทก รุนแรง (เช่นการติด เครื่องมือจัดฟัน ที่ปลายฟัน กดฟันหน้าบนให้งุ้มลงมากๆ จนไปกดฟันล่าง) จนเกิดอาการต่างๆข้างต้น ประกอบกับคนไข้ท่านนั้นอาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการดังกล่าวอยู่แล้ว (เช่น สภาพทางพันธุกรรม)
ขั้น ต่อไปท่านอาจจะต้องการการรักษาต่อ ระยะที่ สอง ( Phase II ) เช่น การกรอฟันเฉพาะจุด ( Selective grinding ) เพื่อขจัดจุดกัดสูงออกไป (การสบกระแทก) หรือ การรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ ( ใส่ฟัน ) หรือทันตกรรมจัดฟัน และ/หรือ ศัลยกรรมจัดฟัน อันเป็นการรักษาเพื่อขจัดสาเหตุ และจัดให้มีเสถียรภาพในการสบฟัน เป็นการรักษาที่สาเหตุ
การรักษาระยะที่ หนึ่ง ( Phase I )
เครื่องมือที่ท่านจะได้รับเรียกว่า เครื่องมือปรับตำแหน่งข้อต่อขากรรไกร หรือ The BKK Splint นี้ เพื่อลดแรงกดที่เข้าสู่ข้อต่อขากรรไกร ให้กล้ามเนื้อคลายตัว, ดึงขากรรไกรล่าง หัวข้อต่อ และเบาะรองกระดูก ( disc เป็นกระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างเบ้า และ หัวข้อต่อ) เพื่อให้ กลับสู่ตำแหน่งปกติ เพื่อขจัดความเจ็บปวดและเสียงดังผิดปกติ (Clicking) ขณะเคลื่อนไหวขากรรไกร
ข้อปฏิบัติสำหรับคน ไข้ที่ใช้เครื่องมือปรับตำแหน่งขากรรไกร ( The BKK Splint Therapy )
1. ใส่เครื่องมือ Splint โดยไม่ถอดออกเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากได้รับเครื่องมือจากทันตแพทย์ ยกเว้นขณะรับประทานอาหารและแปรงฟัน
2. หลังจาก 48 ชั่วโมง ใส่เครื่องมือ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ขณะที่ท่านใส่เครื่องมือ ร่างกายจะทำการรักษาตัวเอง เพราะข้อต่อขากรรไกรจะถูกดึงให้ยืดออก (Stretching) หากไม่ใส่เครื่องมือร่างกายจะทำการรักษาตัวเองไม่ได้ เพราะยังคงมีแรงกด หรือ แรงกระแทกเข้าสู่ข้อต่อขากรรไกรอย่างต่อเนื่อง
3. อาจมีน้ำลายออกมากกว่าปกติ ซึ่งถือเป็น เรื่องธรรมดา และจะค่อยๆลดน้อยลง เป็นลำดับ จนเป็นปกติ
4. ขณะ แปรงฟัน ให้ใช้แปรงและยาสีฟัน ทำความสะอาดเครื่องมือด้วย ท่านไม่จำเป็นจะต้องซื้ออุปกรณ์พิเศษ
5. หากล่องสบู่ไว้ใส่เครื่องมือ Splint เมื่อไม่ใช้ เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหาย
6. อย่าใช้กระดาษชำระ กระดาษเช็ดปากห่อเครื่องมือ เพราะอาจจะทิ้งไปโดยไม่ตั้งใจ
7. เครื่องมือ The BKK Splint เป็นของมีค่าต้องใช้การผลิตที่ยุ่งยาก โปรดรักษาให้อยู่ในสภาพดี อย่าให้สูญหาย
8. ท่านอาจต้องใช้เครื่องมือนี้ เป็นเวลา 3-6 เดือน แล้วจึงจะรับการรักษาขั้นต่อไป เช่น ทาง ทันตกรรมประดิษฐ์ ( ใส่ฟัน )หรือทันตกรรมจัดฟัน และ/หรือ ศัลยกรรมจัดฟัน ในบางรายที่นอนกัดฟัน ท่านอาจจะต้องใส่เครื่องมือ Splint นี้ถึง 12 เดือน
ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เช่น Clicking บางรายอาจไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ เพราะท่านทิ้งปัญหาไว้นาน ระยะเวลาที่เป็นมาแล้วในอดีตทำให้ พยาธิสภาพพัฒนาตัวเองไปอยู่ใน ระดับสูง (Stage 1-5) อาจถึงขั้นมีการละลายของข้อต่อขากรรไกร แต่ท่านจะรู้สึกดีขึ้นจากเดิมมาก
เมื่อหายแล้วและเลิกใส่ Splint อาการก็อาจจะกลับมาอีก ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาโดย Phase II เช่น การจัดฟันต่อเพื่อขจัดสาเหตุ (การสบ ฟันที่ผิดปกติ) และจัดให้มีเสถียรภาพในการสบฟัน
หลักการสร้าง Splint ที่ดี
The BKK Splint เป็นเครื่องมือปรับตำแหน่งข้อต่อขากรรไกรชนิดเดียว ที่ถูกสร้างขึ้นโดยหลักการทาง Orthopedics คือ การยืด (Stretching). Splint ที่ดีต้องมี
1. มีจุดสบและหยุด หรือ Centric Stop เพียงจุดเดียว ไม่ใช่คนไข้กัดได้หลายจุด การสบฟันบน Splint จึงต้องมีผิวสัมผัสระหว่างฟัน และ Splint ที่มากที่สุด รับฟันได้มากที่สุด มีบริเวณกว้างที่สุด และกระจายแรงกัดได้ดีที่สุด
2. มีความหนาพอควร มีความแข็งแรง ทำจากวัสดุที่มีมาตรฐาน ไม่แตกหักง่าย มีความหนาที่สามารถวางตะขอสามเหลี่ยมได้สะดวก กรอแต่งในอนาคตได้สะดวก คือมีการยกมิติในแนวดิ่ง Vertical Dimension ขึ้นจากเดิม เพื่อชดเชยการทรุดตัวของระบบบดเคี้ยว ตลอดเวลาที่ผ่านมา
3. มีปริมาณการยืด (Stretching) ขากรรไกรล่างออกมาจากท่ากัดปกติพอควร (Mandibular Advancement) โดยมากมักถือตำแหน่งที่ฟันหน้ากัดชนกันเป็นเกณฑ์ (Edge to Edge bite) การยืดขากรรไกรล่างออกมาจากท่ากัดปกติมากเกินควร จะทำให้คนไข้เมื่อยเมื่อกัดอยู่บน Splint เป็นเวลานานๆ
4. ถ้าเป็นไปได้ควรมี ระนาบเอียงสำหรับฟันหน้า Anterior Guidance และ ระนาบเอียงสำหรับฟันเขี้ยว ซ้าย-ขวา Canine Guidance เพื่อให้เกิด Tripodization of occlusion แต่อาจทำไม่ได้ทุกกรณี
5. คนไข้ควรสามารถทำการเคลื่อนไหวขากรรไกรล่างได้โดยสะดวก ไม่ติดขัด เรียกว่ามี Freedom of movement แต่ถ้าหากคนไข้ไม่สามารถทำการเคลื่อนไหวขากรรไกรล่างได้โดยสะดวก คนไข้จะบอกได้แทบจะทันทีว่า มีอาการปวด เกร็ง ที่กล้ามเนื้อของขากรรไกร ทันตแพทย์ควรกรอแต่ง Splint ทันที ให้คนไข้มีการเคลื่อนไหวขากรรไกรล่างได้โดยสะดวก ไม่ติดขัด อาจต้องทำการลดความชัน ของระนาบเอียงสำหรับฟันหน้า Anterior Guidance และ ระนาบเอียงสำหรับฟันเขี้ยว ซ้าย-ขวา Canine Guidance ลงเพื่อให้เกิด Tripodization of occlusion
เมื่อ ทันตแพทย์ได้ใส่ BKK Splint ให้ท่านแล้ว ท่านจะต้องมารับการปรับแต่ง Splint ใน 4-6-8 สัปดาห์ต่อมา จนท่านสามารถใส่ Splint ได้สบาย อาการต่างๆของท่าน เช่น การปวด Migraine, อาการ Clicking จะหายไป
ผู้เขียนขอสรุปว่า
การสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) เป็นสาเหตุหลักของ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMD) และ 20-30% ของคนไข้เหล่านี้อาจมีอาการ ไมเกรน (Migraine) ร่วมด้วย หรือ สาเหตุหลักของไมเกรนก็คือการสบฟันที่ผิดปกตินั่นเอง
เมื่อเราทำการรักษาการสบฟันที่ผิดปกติด้วย The BKK Splint ที่ถูกสร้างขึ้นโดยหลักการทาง Orthopedics แล้ว ทำให้ข้อต่อขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งปกติ แล้วจึงให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน จัดให้มีการสบฟันที่ปกติและเสถียร ไม่มีการสบกระแทก
อาการ ไมเกรนMigraine จึงหายไป พร้อมกับความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMD)
การสบฟันที่ผิดปกติมาจากการที่คนไข้หลายท่าน ปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลสุขภาพของช่องปากและฟัน ถอนฟันไปหลายซี่ไม่ได้รับการใส่ฟัน ฟันข้างเคียงก็ล้มเข้ามาสบ กระแทก ฟันที่อยู่ตรงข้ามก็ยื่นยาวออกมาเข้าสู่ช่องว่างที่อยู่ในขากรรไกรตรงข้าม มีการทรุดตัวลงของระบบบดเคี้ยว ทำให้แรงกดซึ่งแต่เดิม ถูกแบกรับโดยฟันทุกซี่ ถูกผลักดันเข้าสู่ข้อต่อขากรรไกร ข้อต่อขากรรไกรจึงต้องรับแรงกดมากขึ้น แรงนี้ เข้าไปกดเนื้อเยื่อด้านใน ที่มีระบบเส้นเลือดฝอย (capillary system)ให้บอบช้ำ แผ่น Disc จะถูกดันไปด้านหน้า ทำให้เกิดเสียงดังผิดปกติ (Clicking) ทำให้เลือด อาหาร และ ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยง เนื้อเยื่อในตำแหน่งนี้ได้ ภาวการณ์หาย (Healing) หรือรักษาตัวเองก็ไม่เกิดขึ้น
จากประสบการณ์กว่า 33 ปี ทาง clinic ของผู้เขียน คนไข้ประเภทนี้รักษาให้หายได้โดยการให้การรักษา
Phase 1 ด้วย Jaw Orthopedic Treatment (Mandibular Repositioning Splint) ที่เราออกแบบเองเรียกว่า The Bangkok Splint
Phase 2 ด้วย ทันตกรรมจัดฟัน ได้ผลทุกราย (แนะนำอายุต่ำกว่า 25 ปี) ได้ผลทุกราย อาการดีขึ้นตั้งแต่ระดับ 75% จนหายขาด
บางกรณี ใช้ทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ที่เรียกว่า Orthognathic surgery โดยศัลยแพทย์ เฉพาะทางที่เรียกว่า Maxillofacial Surgeon (แนะนำอายุต่ำกว่า 30 ปี)
บางกรณี ทำการกรอฟันเฉพาะจุดที่สบกระแทก (Selective Grinding) เพื่อทำให้เกิด Bilateral Symmetrical Canine Guidance
บางกรณี การใส่ฟันปลอมก็เป็นทางเลือก (Prosthodontics)
บางกรณี ทำการใส่ BKK Splint ตลอดชีวิตขณะ นอนก็ได้ ขึ้นกับความต้องการของคนไข้ และข้อจำกัดทางชีวภาพ และ อายุ
คำอธิบายเพิ่มเติม เรื่อง The Bangkok Splint (Mandibular Repositioning Splint ในฟันล่าง)
The Bangkok Splint (Jaw Orthopedic Appliance) เป็นเครื่องมือรูปเกือกม้า ทำจากพลาสติกแข็งที่ใช้วางบนฟันล่าง ออกแบบสร้างขึ้นโดย ทันตแพทย์ ชวาล สมศิริ ตามหลักการออโธเปดิกส์ (Orthopedics) คือหลักการยืดข้อต่อขากรรไกร ให้ลงล่าง และไปด้านหน้า downwards and forwards ลดแรงกด และใช้พลังการรักษาตัวเองของธรรมชาติ (Stretching of the Joint and Releasing of the Joint Loading to promote Healing by Natural Power) ดังนั้น Splint จึงต้องเป็น Splint ในฟันล่างเท่านั้น จึงจะสามารถดึงข้อต่อขากรรไกรออกมาได้ ต้องมีความหนา ประมาณ 2-3 mm. หรือมากกว่า (วัดที่ฟันกราม) เพื่อความแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย สามารถวางตะขอสามเหลี่ยม 6-8 ตัว บนด้านกัดได้ (occlusal surface ของฟันล่าง) และสามารถกรอแต่งให้มีการสบแบบ Bilateral Symmetrical Canine Guidance และ Anterior Guidance บน Splint ได้ (ซึ่ง Michigan Splint ในฟันบน หรือ Splint ที่บาง จะทำไม่ได้)
The Bangkok Splint เป็น เครื่องมือที่ทันตแพทย์ชวาล สมศิริ ใช้แก้ไข ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982) เช่น การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีเสียงผิดปกติขณะอ้า และ หุบปาก (Clicking) อ้า ปากค้างหุบไม่ลง หรือมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ราบรื่น มีการสะดุด เบี้ยวไปทางซ้ายหรือขวา อ้าปากได้น้อย บดเคี้ยวอาหารไม่ได้ กัดไม่ได้ เจ็บที่บริเวณข้อต่อขากรรไกรหรือหน้าหูทันที คนไข้ที่มีอาการนี้ ควรได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น แต่ถ้าเป็นมานาน โอกาสหาย ก็จะน้อยลง
การสร้าง The Bangkok Splint กระทำโดยการพิมพ์ปาก 2 ชุดๆ แรก เป็น control model ชุดที่2 เป็น working model ที่ใช้ทำงานในห้องปฏิบัติการ คนไข้จะต้องกัด ขี้ผึ้ง 2 ชุด ๆ แรก ในท่ากัดปกติ( มีฟันสบกันมากที่สุด ในสภาพที่มีปัญหา) เรียกกันว่า Centric Occlusion หรือ CO ใช้ประกบกับ model ชุดแรกเก็บไว้เป็นอ้างอิง เรียกว่า study model โดยการ trim แบบ Dr. Angle
คนไข้จะต้องฝึกกัด ขี้ผึ้งชุดที่ 2 หน้ากระจก โดยการยื่นฟันล่างออกมาประมาณ 1-2-3 mm เช่นให้กัดแบบ ฟันหน้า บน-ล่าง ชนกันพอดี Edge to Edge bite เรียกว่า ตำแหน่งที่ไม่ click หรือ Non-clicking mandibular position (บางรายอาจต้องยื่นคางออกมามากว่า Edge to Edge bite จึงจะพบตำแหน่งที่ไม่ click แต่พบได้น้อยราย) ทันตแพทย์ อาจใช้ permanent marker เขียนบนฟัน ให้คนไข้ดูในกระจก 1. Midline marking ที่ฟันบน และฟันล่าง อย่างละจุด ให้คนไข้กัดให้ตรงตลอดเวลา 2. ด้านข้าง ฟันบน มี mark เดียวส่วนมากคือยอดของฟันเขี้ยว ฟันล่าง มี 2 marks ตำแหน่งที่1 คือ ตำแหน่งกัดปัจจุบัน (ที่มี clicking) ตำแหน่งที่2 คือ ตำแหน่งที่คนไข้ยื่นคางออกมาด้านหน้า 1 mm ให้คนไข้อ้า-หุบปาก 4 ครั้ง ดูว่ามี clicking หรือไม่ ถ้ามี แสดงว่า ยังใช้ไม่ได้
ตำแหน่งที่3 คือ ตำแหน่งที่คนไข้ยื่นคางออกมาด้านหน้า 2 mm ให้คนไข้อ้า-หุบปาก 4 ครั้ง ดูว่ามี clicking หรือไม่ ส่วนมากจะไม่มี clicking แสดงว่า หาตำแหน่ง Non-clicking mandibular position หรือตำแหน่งที่ไม่ click ได้แล้ว ให้คนไข้กัด ขี้ผึ้งชุดที่ 2 ในตำแหน่งนี้ แต่ให้มีความหนาของขี้ผึ้ง ประมาณ 2-3 mm ในตำแหน่งฟันกราม นำ ขี้ผึ้งชุดที่ 2 ในตำแหน่งนี้ ไปเข้ายึดกับ dental models (mounting) บน Fixator (ไม่ใช่ Articulator) ส่งไปดำเนินการต่อที่ ห้องปฏิบัติการ
บางกรณีตำแหน่งที่3 อาจเป็น ตำแหน่งที่คนไข้ยื่นคางออกมาเป็นการสบฟันแบบที่ 3 คือฟันล่าง ครอบฟันบน ซึ่งพบได้น้อยมาก
หมายเหตุ
การสร้าง Michigan Splint หรือ Splint อื่นๆ ทำในตำแหน่ง ท่ากัดปกติของคนไข้ที่เรียกว่า Centric Occlusion หรือ CO เป็น Dental Splint จึงไม่มีคุณสมบัติในการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMD) เพราะสร้างในตำแหน่งที่มีปัญหา และ ไม่ได้รับการออกแบบโดยใช้หลักการทาง Orthopedics
Michigan Splint ได้รับการออกแบบโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมประดิษฐ์ (ใส่ฟัน) ท่านจึงกลัวการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของขากรรไกรล่าง mandibular position มาก แม้จะเป็นระยะทางเพียง 1 mm และมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันการกัดฟัน และการสึกกร่อนของเคลือบฟันเท่านั้น
ในห้องปฏิบัติการ Michigan Splint ถูกผลิตบน Semiadjustable Articulator และมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก เช่น การแต่งขี้ผึ้ง การลงแบบ Flasking ขณะเปลี่ยนรูป จากขี้ผึ้งไปเป็น Acrylic จะมีการเปลี่ยนความสูง (ความหนา) ของ Splint เสมอ ทำให้เสียเวลาในการปรับแต่งมาก
Michigan Splint ใช้ใส่ในฟันบน เมื่อคนไข้ขยับเคลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านข้างจะพบว่าเคลื่อนไหวลำบาก เมื่อเคลื่อนที่ไปได้เป็นระยะเพียงเล็กน้อย ฟันเขี้ยวก็จะตกลงจากตัว Splint
Michigan Splint บางตัวคนไข้ไม่สามารถ ขยับเคลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านข้าง หรือ ด้านหน้า ได้ ใส่ได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์คนไข้ก็เลิกใส่เพราะเจ็บ
ไม่เหมือนกับ The Bangkok Splint คนไข้จะสามารถขยับเคลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านข้างได้สะดวกกว่า มากกว่า ไม่ตกลงจากตัว Splint (มี Canine guidance ขณะอยู่บน splint)เรียกว่า มี Freedom of mandibular movement ทางด้านข้าง หลังจากนั้น ให้คนไข้ ขยับเคลื่อนขากรรไกรไปทางด้านหน้าตรงๆ คนไข้จะสามารถทำได้โดยง่าย The Bangkok Splint จะไถลรองรับฟันหน้าบน เรียกว่า protrusive movement หรือ มี Freedom of mandibular movement ทางด้านหน้า การเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางนี้ทำได้ โดยไม่มีการสบกระแทกที่จุดอื่นใดเลย และนี่คือที่มาของหลักการการทำงานของระบบบดเคี้ยวที่เรียกว่า Tripodization of Occlusion
เชื่อหรือไม่หลังจากใส่ The Bangkok Splint
ผู้ที่มีอาการเจ็บปวด หรือไมเกรน อาการจะค่อยๆหายไป ภายใน 24-48 ชม. แต่ ถ้าท่านทิ้งให้ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เกิดขึ้น เป็นเวลานาน เช่น การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีเสียงผิดปกติขณะอ้า และ หุบปาก (Clicking) พยาธิสภาพก็จะดำเนินเข้าไปสู่สภาวะการเสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกรระยะสุดท้าย (Stage 4-5) ซึ่งจะไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า ถ้าคนไข้มีเสียงผิดปกติขณะอ้า และ หุบปาก (Clicking) แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ก็ไม่ต้องทำการรักษา ในความเป็นจริงแล้ว การมี Clicking นั้นคือสัญญาณเตือนภัย ถ้าท่านไม่ได้รับการรักษาพยาธิสภาพก็จะถูกเร่งให้ดำเนินเข้าไปสู่สภาวะการ เสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกรระยะสุดท้าย ได้เร็วขึ้นกว่าปกติ
เมื่อใส่ The BKK Splint แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ?
The Bangkok Splint ถูกสร้างด้วยหลักการออโธเปดิกส์ (Orthopedics) หรือยืด (Stretching) ให้ตัวข้อต่อขากรรไกร (หัว Condyles) ซ้าย ขวา ให้ลงล่าง และไปด้านหน้า กลับขึ้นไปอยู่บน หมอนรองกระดูก (discs) เรียกวิธีการนี้ว่า Recapture of the disc ในข้อต่อขากรรไกร
จุดประสงค์ คือ
1. เพื่อลดแรงกด (Loading ที่เข้าสู่ ข้อต่อขากรรไกร) ขจัด หรือ ลดการสบกระแทก (premature contacts) ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม่เกร็ง (Spasm) สามารถทำให้ ข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนไหว (Jaw mechanics) ได้อย่างราบรื่น ไม่เจ็บปวด โดยไม่ต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
2. ขจัดเสียงดังผิดปกติ
– ทำให้ หมอนรองกระดูก หรือ Discs ที่อยู่ระหว่าง ข้อต่อขากรรไกร และเบ้ากระดูก สามารถจัดวางตำแหน่งตัวเอง ในที่ๆถูกต้องได้ เรียกว่า Recapture of the disc
– ทำให้ การเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกร (Jaw mechanics) เป็นไปได้อย่างราบรื่นอีกครั้งหนึ่ง และทำงานร่วมกับ หมอนรองกระดูกได้เหมือนเดิม ไม่มีเสียงดังผิดปกติอีกต่อไป – (smooth and silent)
3. ขจัดอาการเจ็บปวด
– ทำให้ ระบบประสาท Nerve Ending ที่อยู่หลัง ข้อต่อขากรรไกร ไม่ถูกกด ทำให้หายเจ็บปวด ภายใน 24-48 ชม. หลังจากที่ใส่ Splint พบได้มากในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรร่วมกับ Migraine สามารถทำการรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด
4. Provide Healing by Natural Power จัดให้มีการรักษาตัวเองของร่างกายโดยธรรมชาติ
– ทำให้ ระบบเส้นเลือดฝอย (capillary system) ที่อยู่หลัง ข้อต่อขากรรไกร สามารถพองตัวได้
ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ของเสียจะถูกพัดพาออกไป เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นจะได้รับอาหาร และ ออกซิเยน ทำให้มีการรักษาตัวเองเกิดขึ้น มี Healing by natural power เกิดขึ้น
เมื่อคนไข้เข้ามาหาทันตแพทย์ สมอง ซึ่งเทียบได้กับ CPU ของ Computer สั่งงานผ่านระบบประสาทไปทำการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับ การบดเคี้ยว ซึ่งขณะนั้นทำงานตลอดเวลาเพื่อดึงขากรรไกรล่าง ให้หลบการสบฟันที่เป็นอันตรายต่อระบบ เรียกว่า program ที่ 1
เมื่อใส่ Splint แล้ว จะเกิดการสบฟันแบบใหม่ทันที ขากรรไกรล่างจะถูกวางในตำแหน่งใหม่ (Stretching) มีการกระจายแรงกัดลงสู่ฟัน และ ขากรรไกรที่ถูกต้อง มีการยกการสบให้สูงขึ้น (Vertical Dimension) มีการแต่งการสบให้มีการสบแบบ Bilateral Symmetrical Canine guidance เกิดการตัดการรายงาน ความสั่นสะเทือน (Vibration) จากการสบฟัน (อันตราย) ที่ฟัน ผ่าน periodontal tissue ผ่านเส้นประสาท ไปทำการตีความที่สมอง สมองจึงสั่งงานผ่านระบบประสาทไปทำการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยว ข้องกับการบดเคี้ยวเพื่อดึงขากรรไกรล่าง ให้สบฟันบน Splint ที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบ เรียกว่า program ที่ 2
ดังนั้นคนไข้จึงรู้สึกว่าไม่รู้จะกัดที่จุดใดดี เกิดความสับสนระหว่าง program ที่ 1 และ
program ที่ 2 คนไข้จึงต้องการเวลาสักระยะหนึ่ง ให้สมองได้ทำการรวม program ทั้ง สองเข้าด้วยกัน (Deprogramming) เมื่อเหลือเพียง program เดียว คนไข้จะรู้สึกว่าขณะนี้กัดได้ในตำแหน่งใหม่ ที่ข้อต่อ และ หมอนรองกระดูก (Discs) อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เจ็บปวด ไม่ click แต่ฟันสบไม่เหมือนเดิม หรือสบได้บางจุดเท่านั้น
ขณะนี้ตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรอาจอยู่ในตำแหน่งที่ยังไม่สบายที่สุด ดังนั้นทันตแพทย์ จะต้องทำการนัดคนไข้ให้มารับการกรอ ปรับ Splint โดยการกรอในเวลาต่อมา ให้ได้ตำแหน่งที่สบายที่สุด เรียกว่า walk the joint back
ตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกร จะแปรเปลี่ยนไปตามเวลาที่กล้ามเนื้อใช้ ในการคลายตัว ดังนั้นตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรในวันแรกที่ใส่ Splint จะไม่ใช่ ตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรในอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า ดังนั้นทันตแพทย์ จะต้องทำการนัดคนไข้ให้มารับการกรอ ปรับ Splint อีกโดยมากมักไม่เกิน 3 ครั้ง
อาการเจ็บปวด จะหายไปในเวลาประมาณ 48 ชม.
อาการ clicking ควรหายไปในเวลา ประมาณ 1-3 เดือน และไม่กลับมาอีก หาก คนไข้ ใช้ Splint ไปแล้ว 3 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาทำ การเสริม reline ด้านบนของ Splint (ที่สบกับฟันบน) เสียใหม่ หรือ ทำ Splint อันที่สอง
และเมื่อปล่อยให้คนไข้ได้ใช้ The Bangkok Splint ประมาณ 6 เดือน ระบบบดเคี้ยวจะมีเสถียรภาพบน Splint ดี พร้อมที่จะรับการรักษาขั้นต่อไป หรือ ระยะที่ 2 โดยการจัดฟัน เพื่อให้มีการสบฟันที่เป็น Class I ทั้งที่ ฟันเขี้ยว และฟันกราม มี Canine Guidance มีการสบของฟันหน้าอย่างถูกต้อง ไม่มีการสบกระแทกในฟันหลัง ไม่ Click (smooth and silent) เมื่อการสบฟันมีเสถียรภาพก็จะทำให้ข้อต่อขากรรไกรสามารถทำงานได้อย่างปกติ และมีสุขภาพที่ดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่สามารถทำการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้ดี คือ ทันตแพทย์จัดฟัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันมีความรู้เกี่ยวกับ ข้อต่อขากรรไกรและการสบฟันน้อยมาก และไม่รู้ซึ้งถึงคุณค่าการสบฟัน ที่มี Molar relationship และ Canine relationship ในแบบ Class I ที่มี Bilateral Symmetrical Canine Guidance ทำให้ไม่สามารถให้การรักษาคนไข้ประเภทนี้ได้แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้
ภาคผนวก
การสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) มาจาก
1. เป็นพันธุกรรม ตอนคุณเด็กๆ ไม่มีปัญหา เช่น Classs III หรือ Open bite & Molar Fulcrum หรือ Class II, division 2 เรียกกันว่า Mandibular Entrapment ขยับขากรรไกรไปทางด้านข้างไม่ได้ ยื่นคางก็ไม่ได้ เมื่อคุณอายุมากขึ้นร่างกายทนไม่ได้ก็ฟ้อง ว่าฉันต้องการการรักษาแล้วนะ คุณอาจมีปัญหาทางโครงสร้าง ทำไม่คนที่แข็งแรงไม่เป็น
2. คุณเคยได้รับอุบัติเหตุมาในอดีต มีการหักของข้อต่อขากรรไกร อาจไม่มีใครทราบ หรือ ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง การสบฟันไม่เข้าที่ เรียกว่า trauma from occlusion ร่างกายทนไม่ได้ก็ฟ้อง ว่าฉันต้องการการรักษาแล้วนะ
3. คุณได้รับการรักษาทางทันตแพทย์ ต่างกรรมต่างวาระ ถอนฟันกรามไปในอดีต เคี้ยวไม่ได้ ทำให้ต้องเคี้ยวข้างเดียว มีการเพิ่มภาระ Loading ให้ข้อต่อขากรรไกร อีกข้างหนึ่ง ระบบบดเคี้ยวยุบ หรือทรุดตัวลง ทันตแพทย์ใส่ฟันให้คุณไม่ดี มีการสบกระแทก ใช้วัสดุต่างกัน ทางซ้าย และ ขวา เกิดการสึกหรอไม่เท่ากัน ที่ร้ายที่สุดก็คือ ไม่มีใครทราบ หรือ หรือรับผิดชอบ การสบฟันไม่เข้าที่ เรียกว่า trauma from occlusion ร่างกายทนไม่ได้ก็ฟ้อง ว่าฉันต้องการการรักษาแล้วนะ
การรักษาทางทันตกรรมทุกชนิดที่คุณจะต้อง อ้าปากกว้างๆ นานๆ ล้วนทำให้เกิด อาการ TMD ได้ทั้งนั้น หรือ เพราะคุณหมอใช้แรงโหมเพื่อจะงัดเอาฟันคุดออกให้ได้ คุณหมอที่เชี่ยวชาญทางการรักษาเด็ก บางท่านนิยมใช้ Mouth gag (เครื่องมือถ่างปากเด็ก) ให้เด็กร่วมมือกับการรักษา แต่กลายเป็นว่าท่าน ฉีกเอ็น ที่ห่อหุ้ม TMJ ของเด็ก (Joint Capsule) ผมเคยพบเด็กอายุ 12 มี Clicking แล้ว เพราะทำฟันกับหมอเด็กมาตลอดตั้งแต่ 3-4 ขวบ
คุณอาจได้รับการรักษาทางศัลยกรรมที่ต้องดมยาสลบ วิสัญญีแพทย์ ต้องง้างปากคนไข้ที่กำลังครึ่งหลับ ครึ่งตื่น เพื่อสอดท่อดมยา หาก วิสัญญีแพทย์ ไม่ระวัง ท่านก็จะง้างปากคนไข้ ฉีก เอ็น ที่ห่อหุ้ม TMJ ของคนไข้ เมื่อคนไข้ฟื้นจากยาสลบจึงพบว่า คุณหมอ แถมอาการ Clicking ของ TMJ มาให้ด้วย
4. คุณได้รับการรักษาทันตกรรมจัดฟัน ที่ไม่ดี ถอนฟันในที่ๆไม่ควรถอน เช่นการถอนฟันเขี้ยว ซึ่งผมห้ามขาดลูกศิษย์ไว้ (ยกเว้นผู้ป่วยอายุมาก และฟันเขี้ยวนั้นไม่มีสามารถขึ้นได้) มีการถอนแบบ Asymmetry ซ้าย-ขวา ไม่เท่ากัน ถอนแบบ Unbalancing ถอนแต่ฟันล่าง หรือฟันบนอย่างเดียว ไม่ถอนในขากรรไกรตรงข้าม คนไข้อาจยิ้มได้แต่ เคี้ยวไม่ได้ มีการเพิ่มภาระ Loading ให้ข้อต่อขากรรไกร อีกข้างหนึ่ง เมื่อฟันสบไม่ดี ธรรมชาติจะช่วยตัวเอง โดยการบดเคี้ยวฟันให้สึก Grinding หรือ Bruxism เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อของระบบ บดเคี้ยว คุณหมอจัดฟันนั่นแหละ ที่ทำให้เกิด ภาวะ Molar Fulcrum หรือ ใน Class II, division 2 เรียกกันว่า Mandibular Entrapment ดึง ฟันหน้าบน ยุบมากไป คุณจะดูได้จาก สตรีที่เรียกกันว่า Pretty เป็นกันหลายคน เพราะจัดฟัน คุณหมอติด bracket หรือเครื่องมือจัดฟันค่อนไปทางปลาย ฟันมากไป ดึงฟันแรงไป รักษา Axis หรือ แกนกลางของฟันหน้าบนไว้ไม่ได้ ฟันหน้าบน จึง ยุบมากไป ฟันหน้าบนงุ้มลงมา ทำให้ เห็นเหงือกมากขึ้นกว่าเดิม เรียกว่า Gummy Smile หรือ ฟันกระต่าย และยิ้มแบบม้า หรือคุณหมอดึงฟันด้วยลวดที่ไม่แข็งแรงพอ พอลวดโก่ง ทำให้ฟันหลัง และฟันหน้า ยื่นออกมาจากกระดูก ฟันตรงกลางไม่สบกัน เรียกว่า Bowing Effect ครับ ยังมีอีกแยะครับ
ทั้งหมดนี้ นำไปสู่ ที่ เรียกว่า trauma from occlusion ร่างกายทนไม่ได้ก็ฟ้อง ว่าฉันต้องการการรักษาแล้วนะ
5. คนไข้เองไม่ได้สนใจ สุขภาพของช่องปากและฟัน ไม่ได้รับการรักษาทางทันตกรรมตามที่ ควร ฝรั่งเรียกว่า Mutilated Dentition ครับ คุณซื้อรถ คุณก็ต้องนำรถยนต์ ไปเข้าอู่ เพื่อตรวจเช็ค ตามระยะเวลา คุณปล่อยปละละเลยมันมานาน ถอนฟันไปเรื่อยๆ ที่ละซี่ แต่ไม่ใส่ฟันปลอมทดแทน ฟันข้างเคียงก็ล้มเข้ามาหากัน ฟันที่อยู่ตรงข้ามก็ยื่นออกมา เกิดการสบกระแทก แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นก็จะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ข้อต่อขากรรไกร ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักเพื่อป้องกันการกระแทก ก็เกิดเป็นตะคริว ทำให้เอ็นข้อต่อขากรรไกร ถูกเขย่า หรือ กระชาก ต้องทำงานหนักเพื่อให้ข้อต่อขากรรไกร มีเสถียรสภาพ ถูกยืด ถูกฉีก ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ในที่สุดก็หย่อนยาน เมื่อคนไข้อ้าปาก หาวกว้างๆ ก็เกิดอาการค้างหุบไม่ลง
จากการทำการรักษาคนไข้กลุ่มนี้มานานกว่า 33 ปี 1978-2012 ผมขอสรุปว่า คนไข้ที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร TMD และ Migraines จะมีความผิดปกติของการสบฟันร่วมด้วยเสมอ มีการสูญเสียฟันกรามหลักๆไปก่อนหน้านี้ (Loss of posterior support) และไม่ได้รับการดูแล ดังนั้นต้นเหตุก็คือ การสบฟันที่ผิดปกติ Malocclusion นั่นเอง จากการรักษาโดยการใส่ The BKK Splint, ,การกรอฟันแต่งฟัน เพื่อปรับการสบฟัน มิให้มีการสบกระแทกขณะบดเคี้ยว การจัดฟัน Orthodontics ให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง ( Functional Occlusion with Centric Stop and Bilateral Symmetrical Canine Guidance) จัดให้มีการเคลื่อนที่ของข้อต่อขากรรไกรในแบบค้ำยัน 3 จุด (Tripodization of Occlusion) คือไม่มีการกระแทกของฟันหลัง ในขณะที่ยื่นคาง (Protrusion) มีการสบที่ฟันกัดหน้า 1 จุด ไม่มีการกระแทกของฟันหลังขณะ เยื้องขากรรไกรไปทางซ้ายและขวา (Lateral movement) เรียกกันว่า การสบฟันแบบปกติ หรือ Class I Molar and Canine relationship with Bilateral Symmetrical Canine Guidance การเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกร การอ้า และหุบปากจะต้องราบรื่นปราศจากการกระตุก หรือเบี้ยว และ เงียบปราศจากเสียง (Smooth and Silent)
แบบอย่างการถอนฟันที่ถูกต้อง
คนไข้ที่สูญเสียฟัน เพราะการ ถอนแบบ Asymmetry ซ้าย-ขวา ไม่สมมาตร ไม่เท่ากัน หรือถอนแบบ Unbalancing ไม่สมดุลย์ถอนแต่ฟันล่าง หรือฟันบนอย่างเดียว ไม่ถอนในขากรรไกรตรงข้าม เคี้ยวไม่ได้ มีการเพิ่มภาระ Loading ให้ข้อต่อขากรรไกร อีกข้างหนึ่ง เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อของระบบบดเคี้ยว คุณอายุมากขึ้นทุกวัน ความสามารถของร่างกายในการรักษาตัวเองก็จะลดลง ผมเรียกมันว่ามิติที่ 4 ครับ ทุกอย่างแย่ลงจนสุดจะบูรณะให้ดีดังเดิม ทั้งหมดนี้ นำไปสู่ภาวะ ที่ เรียกว่า trauma from occlusionร่างกายทนไม่ได้ก็ฟ้อง ว่าฉันต้องการการรักษาแล้วนะ
การถอนฟันที่มิได้อิงหลักการข้างบนนี้ Asymmetry ซ้าย-ขวาของขากรรไกรจะสูญเสียไป มีการเพิ่มภาระ Loading ให้ข้อต่อขากรรไกร อีกข้างหนึ่งจะทำให้เกิดปัญหา TMD ทุกรายเวลาเท่านั้นที่จะบอกได้
v.02.2015