The Bangkok Splint (Mandibular Repositioning Splint)
คำอธิบาย เรื่อง Mandibular Repositioning Splint (ในฟันล่าง)
The Bangkok Splint (Jaw Orthopedic Appliance) เป็นเครื่องมือที่ใช้วางบนฟันล่าง ออกแบบสร้างขึ้นโดย ทันตแพทย์ ชวาล สมศิริ ตามหลักการออโธเปดิกส์ (Orthopedics) คือหลักการยืดข้อต่อออกจากกัน ให้ลงล่าง และไปด้านหน้า downwards and forwards ลดแรงกด และใช้พลังการรักษาตัวเองของธรรมชาติ (Stretching of the Joint and Releasing of the Joint Loading and Healing by Natural Power) ดังนั้น Splint จึงต้องมีความหนา ประมาณ 2 มม. หรือมากกว่า (วัดที่ฟันกราม) เพื่อความแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย สามารถวางตะขอสามเหลี่ยม 6-8 ตัว บนด้านกัดได้ (occlusal surface ของฟันล่าง) และสามารถกรอแต่งให้มีการสบแบบ Canine Guidance และ Anterior Guidance บน Splint ได้ (ซึ่ง Michigan Splint ในฟันบน หรือ Splint ที่บาง จะทำไม่ได้)
The Bangkok Splint เป็นเครื่องมือที่ทันตแพทย์ชวาล สมศิริ ใช้แก้ไข ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982) เช่น การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีเสียงผิดปกติขณะอ้า และ หุบปาก (Clicking) อ้าปากค้างหุบไม่ลง หรือมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ราบรื่น มีการสะดุด เบี้ยวไปทางซ้ายหรือขวา อ้าปากได้น้อย บดเคี้ยวอาหารไม่ได้ กัดไม่ได้ เจ็บที่บริเวณข้อต่อขากรรไกรหรือหน้าหูทันที คนไข้ที่มีอาการนี้ ควรได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น แต่ถ้าเป็นมานาน โอกาสหาย ก็จะน้อยลง
การสร้าง The Bangkok Splint กระทำโดยการพิมพ์ปาก 2 ชุดๆ แรก เป็น control model ชุดที่2 เป็น working model ที่ใช้ทำงานในห้องปฏิบัติการ คนไข้จะต้องกัด ขี้ผึ้ง 2 ชุด ๆ แรก ในท่ากัดปกติ( มีฟันสบกันมากที่สุด ในสภาพที่มีปัญหา) เรียกกันว่า Centric Occlusion หรือ CO ใช้ประกบกับ model ชุดแรกเก็บไว้เป็นอ้างอิง เรียกว่า study model โดยการ trim แบบ Dr. Angle
คนไข้จะต้องฝึกกัด ขี้ผึ้งชุดที่ 2 หน้ากระจก โดยการยื่นฟันล่างออกมาประมาณ 1-2-3 mm เช่นให้กัดแบบ ฟันหน้า บน-ล่าง ชนกันพอดี Edge to Edge bite เรียกว่า ตำแหน่งที่ไม่ click หรือ Non-clicking mandibular position (บางรายอาจต้องยื่นคางออกมามากว่า Edge to Edge bite จึงจะพบตำแหน่งที่ไม่ click แต่พบได้น้อยราย) ทันตแพทย์ อาจใช้ permanent marker เขียนบนฟัน ให้คนไข้ดูในกระจก ฟันบนมี mark เดียว ฟันล่าง มี 3 marks ตำแหน่งที่1 คือ ตำแหน่งกัดปัจจุบัน (ที่มี clicking)
ตำแหน่งที่2 คือ ตำแหน่งที่คนไข้ยื่นคางออกมาด้านหน้า 1 mm ให้คนไข้อ้า-หุบปาก 4 ครั้ง ดูว่ามี clicking หรือไม่ ถ้ามี แสดงว่า ยังใช้ไม่ได้
ตำแหน่งที่3 คือ ตำแหน่งที่คนไข้ยื่นคางออกมาด้านหน้า 2 mm ให้คนไข้อ้า-หุบปาก 4 ครั้ง ดูว่ามี clicking หรือไม่ ส่วนมากจะไม่มี clicking แสดงว่า หาตำแหน่ง Non-clicking mandibular position หรือตำแหน่งที่ไม่ click ได้แล้ว ให้คนไข้กัด ขี้ผึ้งชุดที่ 2 ในตำแหน่งนี้ แต่ให้มีความหนาของขี้ผึ้ง ประมาณ 2 mm ในตำแหน่งฟันกราม นำ ขี้ผึ้งชุดที่ 2 ในตำแหน่งนี้ ไปเข้ายึดกับ dental models (mounting) บน Fixator (ไม่ใช่ Articulator) ส่งไปดำเนินการต่อที่ ห้องปฏิบัติการ
บางกรณีตำแหน่งที่3 อาจเป็น ตำแหน่งที่คนไข้ยื่นคางออกมาเป็นการสบฟันแบบที่ 3 คือฟันล่าง ครอบฟันบน ซึ่งพบได้น้อยมาก
หมายเหตุ
การสร้าง Michigan Splint หรือ Splint อื่นๆ ทำในตำแหน่ง ท่ากัดปกติของคนไข้ที่เรียกว่า Centric Occlusion หรือ CO จึงไม่มีคุณสมบัติในการรักษาความผิดปกติของขากรรไกร (TMD) เพราะไม่ได้รับการออกแบบโดยหลักการทาง Orthopedics
Michigan Splint ได้รับการออกแบบโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมประดิษฐ์ (ใส่ฟัน) ท่านจึงกลัวการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของขากรรไกรล่าง mandibular position มาก และมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันการกัดฟัน และการสึกกร่อนของเคลือบฟันเท่านั้น
ในห้องปฏิบัติการ Michigan Splint ถูกผลิตบน Semiadjustable Articulator และมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก เช่น การแต่งขี้ผึ้ง การลงแบบ Flasking ขณะเปลี่ยนรูป จากขี้ผึ้งไปเป็น Acrylic จะมีการเปลี่ยนความสูง (ความหนา) ของ Splint เสมอ ทำให้เสียเวลาในการปรับแต่งมาก
Michigan Splint ใช้ใส่ในฟันบน เมื่อคนไข้ขยับเคลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านข้างจะพบว่าเคลื่อนไหวลำบาก เมื่อเคลื่อนที่ไปได้เป็นระยะเพียงเล็กน้อย ฟันเขี้ยวก็จะตกลงจากตัว Splint
Michigan Splint บางตัวคนไข้ไม่สามารถ ขยับเคลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านข้าง หรือ ด้านหน้า ได้
ไม่เหมือนกับ The Bangkok Splint คนไข้จะสามารถขยับเคลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านข้างได้สะดวกกว่า มากกว่า ไม่ตกลงจากตัว Splint (มี Canine guidance ขณะอยู่บน splint)เรียกว่า มี Freedom of mandibular movement ทางด้านข้าง หลังจากนั้น ให้คนไข้ ขยับเคลื่อนขากรรไกรไปทางด้านหน้าตรงๆ คนไข้จะสามารถทำได้โดยง่าย The Bangkok Splint จะไถลรองรับฟันหน้าบน เรียกว่า protrusive movement หรือ มี Freedom of mandibular movement ทางด้านหน้า การเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางนี้ทำได้ โดยไม่มีการสบกระแทกที่จุดอื่นใดเลย
เชื่อหรือไม่หลังจากใส่ The Bangkok Splint
ผู้ที่มีอาการเจ็บปวด หรือไมเกรน อาการจะค่อยๆหายไป ภายใน 24-48 ชม.
แต่ถ้าท่านทิ้งให้ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เกิดขึ้น เป็นเวลานาน เช่น การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีเสียงผิดปกติขณะอ้า และ หุบปาก (Clicking) พยาธิสภาพก็จะดำเนินเข้าไปสู่สภาวะการเสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกรระยะสุดท้าย ซึ่งจะไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า ถ้าคนไข้มีเสียงผิดปกติขณะอ้า และ หุบปาก (Clicking) แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ก็ไม่ต้องทำการรักษา ในความเป็นจริงแล้ว การมี Clicking นั้นคือสัญญาณเตือนภัย ถ้าท่านไม่ได้รับการรักษาพยาธิสภาพก็จะถูกเร่งให้ดำเนินเข้าไปสู่สภาวะการเสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกรระยะสุดท้าย ได้เร็วขึ้นกว่าปกติ
เมื่อใส่ The BKK Splint แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ?
The Bangkok Splint ถูกสร้างด้วยหลักการออโธเปดิกส์ (Orthopedics) หรือยืด (Stretching) ให้ตัวข้อต่อขากรรไกร (หัว Condyles) ซ้าย ขวา ให้ลงล่าง และไปด้านหน้า กลับขึ้นไปอยู่บน หมอนรองกระดูก (discs) เรียกวิธีการนี้ว่า Recapture of the disc ในข้อต่อขากรรไกร
จุดประสงค์ คือ
1. เพื่อลดแรงกด (Loading ที่เข้าสู่ ข้อต่อขากรรไกร) ขจัด หรือ ลดการสบกระแทก (premature contacts) ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม่เกร็ง (Spasm) สามารถทำให้ ข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนไหว (Jaw mechanics) ได้อย่างราบรื่น ไม่เจ็บปวด โดยไม่ต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
2. ขจัดเสียงดังผิดปกติ
– ทำให้หมอนรองกระดูก หรือ Discs ที่อยู่ระหว่าง ข้อต่อขากรรไกร และเบ้ากระดูกของข้อต่อสามารถจัดวางตำแหน่งตัวเองที่ถูกต้องได้ Recapture of the disc
– ทำให้ข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนไหว (Jaw mechanics) ได้อย่างราบรื่น (smooth and silent)และทำงานร่วมกับ หมอนรองกระดูก (discs) ได้ดีเหมือนเดิม ไม่มีเสียงดังผิดปกติอีกต่อไป
3. ขจัดอาการเจ็บปวด
– ทำให้ ระบบประสาท Nerve Ending ที่อยู่หลัง ข้อต่อขากรรไกร ไม่ถูกกด ทำให้หายเจ็บปวด ภายใน 24-48 ชม. หลังจากที่ใส่ Splint พบได้มากในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรร่วมกับ Migraine สามารถทำการรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด
4. Provide Healing by Natural Power จัดให้มีการรักษาตัวเองของร่างกายโดยธรรมชาติ
– ทำให้ ระบบเส้นเลือดฝอย (capillary system) ที่อยู่หลัง ข้อต่อขากรรไกร สามารถพองตัวได้
– ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เนื้อเยื่อในบริเวณนั้น จะได้รับอาหาร และ ออกซิเยน
– ทำให้มีการรักษาตัวเองเกิดขึ้น
เมื่อคนไข้เข้ามาหาทันตแพทย์ สมอง ซึ่งเทียบได้กับ CPU ของ Computer สั่งงานผ่านระบบประสาทไปทำการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยว ซึ่งขณะนั้นทำงานตลอดเวลาเพื่อดึงขากรรไกรล่าง ให้หลบการสบฟันที่เป็นอันตรายต่อระบบ เรียกว่า program ที่ 1
เมื่อใส่ Splint แล้ว จะเกิดการสบฟันแบบใหม่ทันที ขากรรไกรล่างจะถูกวางในตำแหน่งใหม่ (Stretching) มีการกระจายแรงกัดลงสู่ฟัน และ ขากรรไกรที่ถูกต้อง มีการยกการสบให้สูงขึ้น (Vertical Dimension) มีการแต่งการสบให้มีการสบแบบ Canine guidance เกิดการตัดการรายงาน ความสั่นสะเทือนจากการสบฟัน (อันตราย) ที่ฟัน ผ่าน periodontal tissue ผ่านเส้นประสาท ไปทำการตีความที่สมอง สมองจึงสั่งงานผ่านระบบประสาทไปทำการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยวเพื่อดึงขากรรไกรล่าง ให้สบฟันบน Splint ที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบ เรียกว่า program ที่ 2
ดังนั้นคนไข้จึงรู้สึกว่าไม่รู้จะกัดที่จุดใดดี เกิดความสับสนระหว่าง program ที่ 1 และ
program ที่ 2 คนไข้จึงต้องการเวลาสักระยะหนึ่ง ให้สมองได้ทำการรวม program ทั้ง สองเข้าด้วยกัน (Deprogramming) เมื่อเหลือเพียง program เดียว คนไข้จะรู้สึกว่าขณะนี้กัดได้ในตำแหน่งใหม่ ที่ข้อต่อ และ หมอนรองกระดูก (Discs) อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เจ็บปวด ไม่ click แต่ฟันสบไม่เหมือนเดิม หรือสบได้บางจุดเท่านั้น
ขณะนี้ตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรอาจอยู่ในตำแหน่งที่ยังไม่สบายที่สุด ดังนั้นทันตแพทย์ จะต้องทำการนัดคนไข้ให้มารับการกรอ ปรับ Splint โดยการกรอในเวลาต่อมา ให้ได้ตำแหน่งที่สบายที่สุด เรียกว่า walk the joint back
ตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกร จะแปรเปลี่ยนไปตามเวลาที่กล้ามเนื้อใช้ ในการคลายตัว ดังนั้นตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรในวันแรกที่ใส่ Splint จะไม่ใช่ ตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรในอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า ดังนั้นทันตแพทย์ จะต้องทำการนัดคนไข้ให้มารับการกรอ ปรับ Splint อีกโดยมากมักไม่เกิน 3 ครั้ง
อาการเจ็บปวด จะหายไปในเวลาประมาณ 48 ชม.
อาการ clicking ควรหายไปในเวลา ประมาณ 1-3 เดือน และไม่กลับมาอีก หาก คนไข้ ใช้ Splint ไปแล้ว 3 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาทำ การ reline ด้านบนของ Splint (ที่สบกับฟันบน) เสียใหม่ หรือ ทำ Splint อันที่สอง
และเมื่อปล่อยให้คนไข้ได้ใช้ The Bangkok Splint ประมาณ 6 เดือน ระบบบดเคี้ยวจะมีเสถียรภาพบน Splint ดี พร้อมที่จะรับการรักษาขั้นต่อไป หรือ ระยะที่ 2 โดยการจัดฟัน เพื่อให้มีการสบฟันที่เป็น Class I ทั้งที่ ฟันเขี้ยว และฟันกราม มี Canine Guidance มีการสบของฟันหน้าอย่างถูกต้อง ไม่มีการสบกระแทกในฟันหลัง ไม่ Click (smooth and silent) เมื่อการสบฟันมีเสถียรภาพก็จะทำให้ข้อต่อขากรรไกรสามารถทำงานได้อย่างปกติ และมีสุขภาพที่ดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่สามารถทำการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้ดี คือ ทันตแพทย์จัดฟัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันมีความรู้เกี่ยวกับ ข้อต่อขากรรไกรและการสบฟันน้อยมาก ทำให้ไม่สามารถให้การรักษาคนไข้ประเภทนี้ได้แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้
ข้อปฏิบัติสำหรับคน ไข้ที่ใช้เครื่องมือปรับตำแหน่งขากรรไกร ( The BKK Splint Therapy )
1. ใส่เครื่องมือ Splint โดยไม่ถอดออกเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากได้รับเครื่องมือจากทันตแพทย์ ยกเว้นขณะรับประทานอาหารและแปรงฟัน
2. หลังจาก 48 ชั่วโมง ใส่เครื่องมือ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ขณะที่ท่านใส่เครื่องมือ ร่างกายจะทำการรักษาตัวเอง เพราะข้อต่อขากรรไกรจะถูกดึงให้ยืดออก (Stretching) หากไม่ใส่เครื่องมือร่างกายจะทำการรักษาตัวเองไม่ได้ เพราะยังคงมีแรงกด หรือ แรงกระแทกเข้าสู่ข้อต่อขากรรไกรอย่างต่อเนื่อง
3. อาจมีน้ำลายออกมากกว่าปกติ ซึ่งถือเป็น เรื่องธรรมดา และจะค่อยๆลดน้อยลง เป็นลำดับ จนเป็นปกติ
4. ขณะ แปรงฟัน ให้ใช้แปรงและยาสีฟัน ทำความสะอาดเครื่องมือด้วย ท่านไม่จำเป็นจะต้องซื้ออุปกรณ์พิเศษ
5. หากล่องสบู่ไว้ใส่เครื่องมือ Splint เมื่อไม่ใช้ เพื่อป้องกันการชำรุดเสีย หาย
6. อย่าใช้กระดาษชำระ กระดาษเช็ดปากห่อเครื่องมือ เพราะอาจจะทิ้งไปโดยไม่ตั้งใจ
7. เครื่องมือ BKK Splint เป็นของมีค่าต้องใช้การผลิตที่ยุ่งยาก โปรดรักษาให้อยู่ในสภาพดี อย่าให้สูญหาย
8. ท่านอาจต้องใช้เครื่องมือนี้ เป็นเวลา 3-6 เดือน แล้วจึงจะรับการรักษาขั้นต่อไป เช่น ทาง ทันตกรรมประดิษฐ์ ( ใส่ฟัน )หรือทันตกรรมจัดฟัน และ/หรือ ศัลยกรรมจัดฟัน ในบางรายที่นอนกัดฟัน ท่านอาจจะต้องใส่เครื่องมือ Splint นี้ถึง 12 เดือน
ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เช่น Clicking บางรายอาจไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ เพราะท่านทิ้งปัญหาไว้นาน ระยะเวลาที่เป็นมาแล้วในอดีตทำให้ พยาธิสภาพพัฒนาตัวเองไปอยู่ใน ระดับสูง
อาจถึงขั้นมีการละลายของข้อต่อขากรรไกร แต่ท่านจะรู้สึกดีขึ้นจากเดิมมาก
เมื่อ หายแล้วและเลิกใส่ Splint อาการก็อาจจะกลับมาอีก ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาโดย Phase II เช่น การจัดฟันต่อเพื่อขจัดสาเหตุ (การสบ ฟันที่ผิดปกติ) และจัดให้มีเสถียรภาพในการสบฟัน
หมายเหตุ การสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) เป็นสาเหตุหลักของ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และ ไมเกรน
สงวนลิขสิทธิ์ ทันตแพทย์ ชวาล สมศิริ rev. 2012.04.04
The S.O.S. Orthodontic Study Club
ศูนย์ทันตกรรมจัดฟัน และข้อต่อขากรรไกร
โทร. 02-574-0555, 02-574-6556, 087-700-9919
More about TMD & The Bangkok Splint visit our
website : www.dental-tmd.com
email : schwansomsiri911@gmail.com
File : The Bangkok Splint (Mandibular Repositioning Splint).2012.06.04.doc
Code BKK Splint 01