The Bangkok Splint บางกอก สปลิ้นท์
การที่คนไข้มีเสียง clicking ขณะอ้าปาก-หุบปากนั้น แสดงว่า สัญญาณอันตราย (Alarm) ดังขึ้นแล้ว เป็นสัญญาณที่บอกว่า พยาธิสภาพเกิดขึ้นแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง พยาธิสภาพที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเสื่อมภายใน ข้อต่อขากรรไกร ก็จะดำเนินไปตามทางของมัน จาก ระยะที่ 1 ไปสู่ ระยะที่ 2 จาก ระยะที่ 2 ไปสู่ ระยะที่ 3 จาก ระยะที่ 3 ไปสู่ ระยะที่ 4 จาก ระยะที่ 4 ไปสู่ ระยะที่ 5 อันเป็นระยะสุดท้าย ที่เรียกกันว่า ข้อเสื่อมระยะสุดท้าย Degenerative Joint Diseases ที่มีแต่การรักษาในลักษณะการประคับประคอง แต่ไม่มีการหายขาดเหมือนสภาพก่อน ระยะที่ 1
The Bangkok Splint บางกอก สปลิ้นท์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน ใช้วางอยู่บนฟันล่าง จึงเรียกกันว่า สปลิ้นท์ ฟันล่าง
สปลิ้นท์ แปลเป็นภาษาไทยว่าเบาะรองฟันซึ่งไม่ค่อยจะตรงตามความหมายที่แท้จริงนัก สปลิ้นท์ มีหลายชนิด แต่ บางกอกสปลิ้นท์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ใช้หลักการทางออโธเปดิกส์ Orthopedics ในการออกแบบ เรียกว่าการรักษาระยะที่หนึ่ง Phase I reatment หรือ Orthopedic Phase ผู้ออกแบบคือ ทพ. ชวาล สมศิริ ในปี 1982 ณ.แผนกทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี ซึ่งต่อมาท่านได้รับวุฒิบัตร Diplomate German Board of Dentofacial Orthopedics
The Bangkok Splint บางกอก สปลิ้นท์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาอะไรได้บ้าง
- 1. ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร(กราม) มีหลายแบบ
- 2. Clicking เสียงที่ดังผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรขณะอ้าและหุบปาก (ยกเว้นในระยะท้ายๆของการเสื่อมของข้อต่อฯ) หายทันทีที่ใส่ บางกอก สปลิ้นท์
- 3. อ้าปากไม่ขึ้น และเมื่อบดเคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บ
- 4. อ้าปากแล้วเบี้ยว ไปมา หรือเบี่ยวไปในทิศเดียว
- 5. อ้าปากกว้างๆแล้วค้าง หุบเองได้บ้าง หรือ ค้างเลย
- 6. อาการปวดในข้อต่อฯ และปวดศีรษะแบบไมเกรน จะหายภายใน เวลา 48 ชม. และค่อยๆดีขึ้น ตามลำดับ
- 7. ใช้บรรเทา หรือแก้ไขอาการตะคริวเรื้อรังของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร กล้ามเนื้อคอ ไหล่ บ่า แผ่นหลัง และกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างของร่างกาย
- 8. ใช้บางกอกสปลิ้นท์ ร่วมกับการนวดแบบ “กดจุด” (Orthopedic Massage) ตามคำแนะนำของ ทพ. ชวาล สมศิริ ร่วมกับการประคบอุ่น ครั้งละ 20 นาที จะได้ผลดีมาก
- 9. ในคนไข้ที่นอนกัดฟัน สามารถใช้ บางกอกสปลิ้นท์ เพื่อป้องกันการสึกกร่อน ของฟัน และบรรเทาการกรนได้ด้วย
- 10. อาการต่างๆ ของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ที่ได้รับการรักษาระยะที่ 1 ด้วยบางกอกสปลิ้นท์แล้วสามารถกลับคืนมาได้ หากท่านทำบางกอกสปลิ้นท์ หาย หรือไม่ใส่ ท่านต้องปรึกษาทพ. เพื่อการรักษาระยะที่ 2
เนื่องจากการรักษา ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรโดย บางกอกสปลิ้นท์ มุ่งผลการรักษาไปที่การขจัดอาการของข้อต่อฯ ให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกรในแบบราบรื่นราบเรียบ และไม่มีเสียงดังผิดปกติ (smooth & silent) ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่การนี้จะทำให้การสบฟันผิดปกติไป การสบฟันจะไม่เหมือนเดิม อาจเกิดปัญหาในการบดเคี้ยว ในทางทฤษฎีแล้วคนไข้ควรได้รับ การรักษาระยะที่สอง Phase II Treatment เช่น การกรอฟัน เฉพาะจุดเพื่อให้ได้การสบฟันที่มีเสถียรภาพ หรือ การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน Orthodontic Phase หรือ ในกรณีที่ยากมากๆ จะเป็นการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร Surgical Orthodontics หรือ การใส่ฟัน Prosthodontics หรือ การเสริมฟันเขี้ยวด้วย วัสดุพิเศษให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง หรือคนไข้จะเลือกที่จะอยู่กับ บางกอก สปลิ้นท์ โดยการใส่นอนตลอดไป
ทพ. ชวาล สมศิริ ไม่แนะนำให้ทำการรักษา TMD โดยใช้ สปลิ้นท์ในฟันบน หรือ สปลิ้นท์อื่นๆ ที่ออกแบบมาโดยมีจุดประสงค์ที่จะป้องกันการนอนกัดฟัน ป้องกันการสึกของเคลือบฟัน มิได้มีการออกแบบ การสร้างเพื่อใช้ในงานออโธเปดิกส์ Orthopedics สปลิ้นท์เหล่านี้ไม่สามารถแก้อาการ Clicking ได้ ทพ. ชวาล สมศิริ ได้ทำการทดสอบ สปลิ้นท์ที่มีการ ออกแบบต่างๆถึง 10 แบบ ในระหว่างปี 1982-1994 ณ.แผนกทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี ผลปรากฏว่าไม่มี สปลิ้นท์ใดเลยที่ให้ผลการรักษา TMD ในทางคลินิกที่เป็นที่น่าพอใจในระยะยาว
เนื่องจากการรักษา ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรโดย บางกอกสปลิ้นท์ มุ่งผลการรักษาไปที่การขจัดอาการของข้อต่อฯ ให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกรในแบบราบรื่นราบเรียบ และไม่มีเสียงดังผิดปกติ (smooth & silent) ไม่มีอาการเจ็บปวด ดังนั้นเราจึงต้องนำหลักการทาง ออเปดิกส์มาใช้ โดยการยืด กล้ามเนื้อ ออกมาทางด้านหน้า (streching) กล้ามเนื้อที่ถูกยืดจะคลายตัว ทำให้ข้อต่อขากรรไกร (หรือขากรรไกรล่างทั้งหมด) เลื่อนออกมาข้างหน้าด้วย ให้มาอยู่บน แผ่นกระดูกอ่อน หรือ Disc (ที่อยู่ระหว่างหัวข้อต่อ และเบ้า) อีกครั้งหนึ่ง เรียกกันว่า Anterior mandibular position หรือ Nonclicking Position เมื่อคนไข้อ้าปาก-หุบปาก จึงไม่เกิดเสียงดัง clicking บางกอกสปลิ้นท์ จึงถูกสร้างขึ้นในตำแหน่งที่ ข้อต่อขากรรไกร สามารถกลับมาทำงานร่วมกับ แผ่นกระดูกอ่อน หรือ Disc ได้อย่างปกติอีกครั้ง ลดแรงกด ระบบเส้นเลือดฝอยสามารถกลับมาทำงานได้ ธรรมชาติจึงมีโอกาสที่จะทำการรักษาตัวเองให้หายได้
การรักษา TMD โดยใช้ สปลิ้นท์ในฟันบน หรือ สปลิ้นท์อื่นๆ ที่ออกแบบมาโดยมีจุดประสงค์ที่จะป้องกันการนอนกัดฟัน ป้องกันการสึกของเคลือบฟัน จะถูกสร้างขึ้นในตำแหน่งที่ข้อต่อขากรรไกรมีปัญหา (CO) ในขณะนั้น จากการเปลี่ยนแปลงการสบฟันที่ผิดไป จากการถอนฟันกราม จากฟันล้ม จากการยุบตัวลงของระบบบดเคี้ยว จากอายุที่มากขึ้น จากอุบัติเหตุ จากการใช้งานหนัก(เคี้ยวข้างเดียว รับประทานอาหารแข็ง เหนียว กรอบ เคี้ยวหมากฝรั่งโดยไม่จำเป็น) ไม่ใด้รับการบูรณะฟันที่ถูกต้อง ได้รับการจัดฟันที่ผิดหลักวิชาการ ผ่านการรักษาทางทันตกรรมที่ต้องอ้าปากกว้างๆ นานๆมา ผ่านการสอดท่อดมยาสลบ ทำให้ร่างกายรับสภาพไม่ได้ มีการฉีกขาดของเอ็นที่หุ้มข้อต่อ (joint capsule)
ระบบได้เสียสมดุลย์ไปแล้ว ข้อต่อขากรรไกรถูกดันให้หลุดออกจาก แผ่นกระดูกอ่อน หรือ Disc ข้อต่อขากรรไกรหล่นไปอยู่ด้านหลัง Disc ถูกดันให้หล่นไปอยู่ด้านหน้า หรือที่อื่น เมื่อคนไข้อ้าปาก ข้อต่อขากรรไกรก็จะกระโดด(ถุกดึงด้วยกล้ามเนื้อมัดหนึ่ง) ให้ขึ้นมาอยู่บนแผ่นกระดูกอ่อน ทำให้เกิดเสียง Clicking เมื่อคนไข้หุบปากข้อต่อขากรรไกรก็จะถูกดัน ให้ตกลงไปอยู่หลังแผ่นกระดูกอ่อน ทำให้เกิดเสียง Clicking อีกครั้ง ดังนั้น สปลิ้นท์อื่นๆจึงไม่สามารถแก้อาการ Clicking ได้ คนไข้ที่มีเสียง Clicking ไม่จำเป็นต้องมีอาการเจ็บปวด ดังนั้นจึงมีการเอาไปพูดว่าคนไข้ ที่มีอาการ Clicking แต่ไม่เจ็บไม่ปวด ก็ไม่ต้องทำการรักษา ซึ่งมิใช่คำกล่าวที่ถูกต้อง
บางกอกสปลิ้นท์ The Bangkok Splint คือเครื่องมือที่วางอยู่บนฟันล่าง ออกแบบโดย ทันตแพทย์ ชวาล สมศิริ ในปี 1982 โดยใช้หลักการทางออโธเปดิกส์ “Orthopedic Principles” Phase I Treatment เพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และไมเกรน บางกอกสปลิ้นท์ ถือเป็นนวัตกรรมผลิตผลของการวิจัยทางคลินิกที่ยาวนานถึง 12 ปี ณ.แผนกทันตกรรมจัดฟัน และข้อต่อขากรรไกร คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี นอกจากนี้ บางกอกสปลิ้นท์ ยังสามารถใช้ในคนไข้ที่นอนกัดฟัน และบรรเทาการนอนกรนได้ด้วย
การวิจัยทางคลินิกในครั้งนี้ สามารถยืนยันได้ว่า การรักษาไมเกรนนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยา ดังนั้นการรักษาไมเกรนในอดีต ที่ยาวนานกว่า 40 ปี จึงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพราะเรามิได้รักษาที่ต้นเหตุ คนไข้ที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และไมเกรนมีสาเหตุหลักร่วมกัน คือการสบฟันที่ผิดปกติ ดังนั้นการรักษาคนไข้ประเภทนี้ด้วยบางกอกสปลิ้นท์ จึงเหมาะสมที่สุด และการรักษานี้ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพ และความสำเร็จมามากกว่า 38 ปีแล้ว
ความจริงเกี่ยวกับตำแหน่งของขากรรไกรล่าง
บางกอกสปลิ้นท์ เป็นเครื่องมือOrthopedic ถูกสร้างขึ้นในตำแหน่งที่เรียกว่า Non-Clicking position โดยการสอนให้คนไข้ยื่นคางออกมาและกัดบนแท่งขี้ผึ้งรูปเกือกม้า และหยุดที่ความหนาประมาณ 2-3 มม. ที่ฟันหลัง ณ.ตำแหน่งนี้กล้ามเนื้อที่ใช้หุบปาก (ที่เกร็งตัวอยู่) จะถูกยืด (Stretch) ทำให้กล้ามเนื้อนี้คลายตัว
ให้คนไข้อ้าและหุบปากในตำแหน่งนี้จะไม่มีเสียงคลิ๊ก คนไข้จะรู้สึกได้ทันทีว่าตัวเองหายจากอาการคลิ๊ก คุณหมอได้สร้างความมหัศจรรย์ขึ้นแล้ว
TMD splints 10 แบบ ที่ใช้ในประเทศเยอรมนี ได้รับการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการรักษาโดย ทพ. ชวาล สมศิริ โดยประเมินผลจากคนไข้ 96 คน สปลิ้นท์ทุกแบบ ถูกสร้างขึ้นใน ตำแหน่ง CO ของขากรรไกรล่างซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีปัญหา, สปลิ้นท์ทุกแบบไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาระดับคลินิกในระยาว สปลิ้นท์ทุกแบบมีหลักการเหมือนกันหมด จัดว่าเป็น สปลิ้นท์ที่ใช้งานทางทันตกรรม ไม่มีผลทางออโธเปดิกส์ การเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่างของคนไข้ ยังไม่ราบลื่น การสดุด และ Clicking ยังคงมีอยู่ สปลิ้นท์เหล่านี้มีผลเพียงป้องกันการสึกของ เคลือบฟันเท่านั้น
คนไข้ส่วนใหญ่เมื่อได้รับ สปลิ้นท์แบบอื่นๆไปใส่โดยเฉพาะ สปลิ้นท์ฟันบน จะรู้สึกว่าไม่สบาย เจ็บฟัน ในบางรายอาการกลับแย่กว่าเก่าเสียอีกจึงเลิกใส่