ตอบจดหมายทันตกรรมจัดฟันปัญหาข้อต่อขากรรไกร

เสียง Clicking มาจากไหน ?

ตอบคำถาม เกี่ยวกับท่านที่มี ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรแล้ว (TMD)

ถาม: เสียง Clicking มาจากไหน ?
ตอบ: เสียง Clicking มาจากการสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion)

ถาม: การสบฟันที่ผิดปกติมีผลอย่างไร ต่อระบบบดเคี้ยว?
ตอบ:
1. แรงสั่นสะเทือนที่ถูกถ่ายทอดสู่ ฟัน การสบฟันจะเปลี่ยนไป เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
2. แรงสั่นสะเทือนที่ถูกถ่ายทอดสู่รากฟัน และเยื่อหุ้มรากฟัน กระดูกที่ขากรรไกรละลาย
3. แรงสั่นสะเทือนถูกถ่ายทอดสู่ข้อต่อขากรรไกร “ดัน” หมอนรองกระดูก (Disc) ให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้า หัวข้อต่อขากรรไกรถูก“ดัน” ให้เคลื่อนตัวไปข้างหลัง ทำให้ระบบไม่สามารถไม่สามารถทำงานอย่างปกติ เกิดเสียง Clicking ขณะอ้าและหุบปากได้ เรียกได้ว่าท่าน มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรแล้ว (TMD)

ถาม: มีเสียง Clicking แต่ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่ต้องรักษา ใช่ไหม?
ตอบ: โดยสถิติ 30% ของคนไข้ที่มีเสียง Clicking เท่านั้น ที่จะพัฒนามีอาการเจ็บปวด และ Migraine อีก 70% ของคนไข้ที่มีเสียง Clicking ไม่มีอาการเจ็บปวด เสียง Clicking เป็นเสมือนสัญญาณอันตราย (Alarm) ที่เกิดขึ้นแล้ว ท่านต้องการการรักษาแล้ว ท่านเข้าสู่ขบวนการ การเสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกร Internal Derangement ระยะที่ 1 แล้ว หากท่านไม่แสวงหาการรักษา เสียง Clicking จะหายไปเอง ตามที่คุณหมอหลายท่านบอก ซึ่งมิใช่ความจริง
ความจริงแล้ว การเสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกรได้ขึ้นชั้นไปสู่ระยะที่สูงกว่า ไม่มีเสียง Clicking แต่มีอาการอื่นแทน เช่นเสียงทราย เสียงหวีดในหู อาการเจ็บปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น ลามลงไปถึงกล้ามเนื้อมัดอื่น เช่น ที่ คอ บ่า ไหล่ หลัง กล้ามเนื้อเอว ก้น ขาท่อนบน ขาด้านข้าง กล้ามเนื้อน่อง ไปสุดที่ปลายเท้า (นิ้วโป้ง)

ถาม: ท่านที่มีปัญหาการเสื่อมสลายของข้อต่อขากรรไกร ระยะท้ายๆ สามารถรักษา ได้ไหม?
ตอบ: สามารถรักษาได้ แต่ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป (เรารับคนไข้สูงสุดอายุ 60 ปี) ระยะที่ 4 และ 5 ท้ายสุด อาจทำการรักษา แบบประคับประคอง

Comments are closed.

0 %